Winnie The Pooh Glitter

ปก

ปก

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

week ⑧ : ☼ Review app "Bangkok MRT" เที่ยวง๊ายง่ายสบายอุรา ☼

          ในที่สุดเราก็เดินทางมาถึงวีคที่ แปดแป้ดแป๊ดดด.... แล้วว ใกล้จะถึงวีคสุดท้ายแล้วสิน้าา
  มาเข้าเรื่องกันดีกว่า ใครใช้สมาร์ทโฟนยกมือขึ้น ! (。・ω・)ノ゙ ใช่แล้วค่า ปัจจุบันนั้นคิดว่าหลายๆคนก็คงใช้สมาร์ทโฟนกันเกือบจะหมดแล้ว เนื่องจากให้ทั้งความสะดวก ความสวยงาม ความบันเทิง และอีกมากมาย (ゝω´・)b
      
       อ๊ะๆ.... แต่ใช้สมาร์ทโฟนทั้งที จะใช้ยังไงให้คุ้มนั่นแหละปัญหาใหญ่เลยละเนอะ (゚ロ゚;)
ทราบหรือไม่ว่า ในแอพสโตร์ของเรานั้นมีแอพเจ๋งๆมากมายยยที่ซ่อนอยู่ ที่แนะนำแค่ไหนก็คงไม่หมดแน่นอนอย่างเช่น ในบล็อกนี้นั้น เราจะมาแนะนำแอพนึงที่น่าสนใจมากๆ ต่อการเดินทางที่ทำให้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย และที่สำคัญยังใช้งานง่ายมากๆ อีกทั้งยังมีรายละเอียดทุกอย่างครบ สะดวกที่สุด และไม่มีหลงทางอย่างแน่นอนเลย นั่นก็คือแอพพลิเคชั่นชื่อว่า \( ̄︶ ̄)/ 



                                              ☼ Bangkok MRT ☼


เริ่มต้นเลยเมื่อเราดาวน์โหลดแอพเสร็จเรียบร้อยจะได้แอพหน้าตาแบบนี้ 。◕‿◕。


เมื่อเข้าสู่แอพนั้นจะมีให้เลือกดังนี้


 เลือกตรง Journey นั้นจะเป็นการเลือกเส้นทางที่เราต้องการไป โดยจะมีระยะต้นทางคือจุดที่เราอยู่ และ อีกอันจะเป็นปลายทางที่เราต้องไปนั่นเอง แต่ที่พิเศษคือเค้าได้ให้แผนที่ที่จะต่อไปทั้ง BTS และสายอื่นๆให้เราได้ดูได้ด้วย (◕‿◕✿)



หรือจะแนะนำทางออกไหนของสถานี ถึงจะเจอสถานที่เหล่านี้ได้บ้าง


   
ปัญหาอย่างนึงที่เราเคยเจอคือลงสถานีแล้วก็งงว่าต้องออกทางออกไหนกันน้าาถึงจะใกล้ที่ๆเราต้องการจะไป แอพนี้ก็ตอบโจทย์โดยการแนะนำทางออกที่ดูง่ายมากมาให้เราด้วย (¯▽¯;)


               ยังมีการคำนวณค่าโดยสารด้วย โดยในภาพเราได้เลือกมาเป็นตัวอย่างจาก 
                                                สถานีลาดพร้าว ไป สถานีหัวลำโพง



 และสิ่งที่เราคิดว่าน่าจะมีใครคาดไม่ถึงว่าจะมีในแอพ นั่นก็คือแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ช็อปปิ้ง สปาโรงแรม และอีกมากมายนั่นเอง เหมือนได้สถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มในวันหยุด แถมยังเดินทางง่ายดายอีกด้วย  ( ° ▽、° )



           
                             

           ตัวอย่างการแนะนำร้าน ทู ฟาสท์ ทู สลีพ โดยย่อ (จริงๆ แนะนำเราอีกเพียบเลยล่ะ ^0^)


หรือจะเป็นส่วนลดต่างๆที่ทาง Mrt จัด หรือ เข้าร่วมก็มีมาอัพเดตให้ติดตามตลอดเวลา



เกิดปัญหาก็ติดต่อได้เลย ก็มีช่องทางการติดต่อพร้อมให้พวกเราเสมอ



¨`*:•. *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚・✿.。.:* *.:。✿*゚¨゚✎・ ✿.。.:* *.:。✿*゚¨゚✎・ 

จบไปแล้วกับการรีวิวแอพที่เรานำมาแนะนำในสัปดาห์นี้แบบเบื้องต้นโดยย่อ (◡‿◡✿) 
หวังว่าทุกๆคนคงจะชอบ และ สามารถใช้ประโยชน์ได้น้า
แต่แนะนำเลยจ้า ว่าดีจริงๆสะดวกขึ้นเยอะเลย

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านและติดตามน้า 
แล้วมาดูกันว่าสัปดาห์หน้าจะเป็นอะไร พบกันใหม่สัปดาห์ค่า (^人^) 

                      ¨`*:•. *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚・✿.。.:* *.:。✿*゚¨゚✎・ ✿.。.:* *.:。✿*゚¨゚✎・ 







วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week⑦ ; εїз คอมพิวเตอร์ และ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ εїз



   
        วันนี้ก็เข้าสู่สัปดาห์ที่ 7 ของบล็อกเราแล้วววววว วันนี้ก็จะมาเชิงมีสาระกันหน่อย ฮี่ฮี่ ╭ \(‵▽′)/ ╮
นั่นก็คือเรื่องเกี่ยวกับ " คอมพิวเตอร์ และ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ " นั่นเอง
           เคยสงสัยไหมว่าคอมพิวเตอร์ที่เราใข้อยู่ทุกวันนั้น มีระบบยังไง ? ทำงานได้ยังไง ? 
งั้นตามเค้ามาเล้ยยยยยยยยยยย  





เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษ: computer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคืออินเทอร์เน็ต
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง

 การเชื่อมโยงเครือข่าย 

สื่อกลางการสื่อสารที่ใช้ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยสายเคเบิลไฟฟ้า (HomePNA, สายไฟฟ้าสื่อสาร, G.hn), ใยแก้วนำแสง และคลื่นวิทยุ (เครือข่ายไร้สาย) ในโมเดล OSI สื่อเหล่านี้จะถูกกำหนดให้อยู่ในเลเยอร์ที่ 1 และที่ 2 หรือชั้นกายภาพและชั้นเชื่อมโยงข้อมูล
ครอบครัวของสื่อการสื่อสารที่ถูกพัฒนาอย่างกว้างขวางและถูกนำมาใช้ในเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) เรียกว่า อีเธอร์เน็ต มาตรฐานของสื่อกลางและของโพรโทคอลที่ช่วยในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายอีเธอร์เน็ตถูกกำหนดโดยมาตรฐาน IEEE 802. อีเธอร์เน็ตในโลกไซเบอร์มีทั้งเทคโนโลยีของ LAN แบบใช้สายและแบบไร้สาย อุปกรณ์ของ LAN แบบใช้สายจะส่งสัญญาณผ่านสื่อกลางที่เป็นสายเคเบิล อุปกรณ์ LAN ไร้สายใช้คลื่นวิทยุหรือสัญญาณอินฟราเรดเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านสัญญาณ

รูปแสดงสายเคเบิ้ลไฟฟ้า


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งตามลักษณะการเชื่อมต่อทางภูมิศาสตร์ หรือระยะทางการเชื่อมต่อ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ

1. ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระยะใกล้ภายในสำนักงาน หรืออาคารเดียวกัน หรืออาคารที่อยู่ใกล้กันโดยใช้ สายสัญญาณ ได้แก่ สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วนำแสงตัวอย่างเช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย ภายในอาคารหรือบริษัทเดียวกัน ระบบเครือข่ายท้องถิ่น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน ในด้านการใช้ทรัพยากร ของระบบร่วมกัน หรือสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ระบบ LAN ช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า


2.  MAN ย่อมาจาก Metropolitan Area Network คือ  เครือข่ายระดับเมือง หมายถึง การเชื่อมต่อ เครือข่ายคอมพิวเตอร์  เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ที่มีระยะทางการเชื่อมต่อไกลกว่า ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) แต่ระยะทางยังคงใกล้กว่าระบบ WAN (Wide Area Network) ได้แก่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันภายในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน ในเขตเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เคเบิลทีวี




3. ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network : WAN) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ระยะไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น ระหว่างประเทศ การเชื่อมต่อเครือข่ายทั่วโลก ติดตั้งใช้งานบริเวณกว้างมีสถานีหรือจุดเชื่อมมากมาย และใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม เนื่องจากเป็นการติดต่อสื่อสารระยะไกล อัตราการรับส่งข้อมูลจึงต่ำ และมีโอกาสผิดพลาดได้สูง การสื่อสารระยะไกล จำเป็นต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ คือ โมเด็ม ช่วยในการติดต่อสื่อสาร และสามารถนำเครือข่าย LAN มาเชื่อมต่อกัน เป็นเครือข่ายระยะไกลได้ ตัวอย่างของเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเทอร์เน็ต เครือข่ายระบบงานธนาคารทั่วโลก เครือข่ายของสายการบิน เป็นต้น 


4. ระบบเครือข่าย PAN
ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN) PAN หรือ เครือข่ายส่วนบุคคล คือ “ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล” ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วยPersonal Area Network (PAN)ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้ อย่างหลากหลายคิดค้นโดยนักวิจัยของ MIT รวมกับIBM โดยจะสร้างกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ (ระดับพิโคแอมป ) ออกไปตามผิวหนังโดยเครื่องรับสัญญาณตามจุดต่างๆ ของร่างกายสามารถรับสัญญาณได้ เทคโนโลยีนี้จะเหมาะกับการใช้งานทางการแพทย์ เพราะอุปกรณ์ โดยมากจะมีการติดตั้งตามลำตัวมนุษย์พัฒนาโดย Bluetooth Special Interest Group


            หลังจากที่เราทราบถึงความหมาย และ ชนิดของระบบเครือข่ายแล้ว ต่อมาเราลองมาศึกษาในเรื่องของรูปร่างเครือข่ายกันบ้างดีกว่า ◕‿



 รูปร่างเครือข่าย (Network Topology) 

แบบบัส (BUS)

เครือข่ายแบบบัส

เป็นลักษณะของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่าย ด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ โดยมีคอนเน็คเตอร์ในการเชื่อมต่อ โดยลักษณะของการส่งหรือรับข้อมูล จะเป็นการส่งข้อมูล ทีละเครื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เท่านั้นจากนั้นเครื่องปลายทาง ก็จะส่งสัญญาณข้อมูลกลับมา และในการเชื่อมต่อในระบบ Bus นี้จะต้องมี T-Connector ที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ และมี Terminator เป็นอุปกรณ์ปิดปลายสายสัญญาณ ของทั้ง
ระบบ ซึ่ง Terminaltor จะคอยเป็นตัวดูดซับสัญญาณไม่ให้มีการไหลกับไป กวนกับระบบสัญญาณอื่นในสาย ซึ่งโดยทั่วไป จะมีค่าความต้านทานประมาณ
50 โอห์ม บางครั้งถ้าไม่มี Terminator เราสามารถให้ตัว R ทั่วไปที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ขนาด 50 โอห์มแทนได้เหมือนกัน

                                
ข้อดี 
 ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก
 สามารถขยายระบบได้ง่าย
 เสียค่าใช้จ่ายน้อย
ข้อเสีย 
 อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ดต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
 การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยากเนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้


แบบวงแหวน (RING)

เครือข่ายแบบวงแหวน
 ได้ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่ อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ มันยังคงส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลบข้อมูล ออกจากระบบ ครั้นเมื่อสถานีส่ง TOKEN มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สถานีส่ง TOKEN จะทวนซ้ำข้อมูลเป็นครั้งที่สอง ถ้ายังคงไม่ได้รับคำตอบ จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้ระบบหยุดชะงักการทำงานลงของระบบ เนื่องจากสถานีหนึ่งเกิดการเสียหาย หรือชำรุด ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้ ลักษณะการเชื่อมต่อ



ข้อดี
 ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย
 คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
 หากโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก



แบบดาว(STAR)

เครือข่ายแบบดาว
 เป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์
ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็ว เมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูง ในการติดตั้งครั้งแรก ลักษณะการเชื่อมต่อ


ข้อดี

 ติดตั้งและดูแลง่าย
 แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหนดจะขาด โหนดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ
 การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด

ข้อเสีย

 เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน
 การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหนดอื่นๆ ทั้งระบบ
 เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง


แบบผสม (Hybrid)

เครือข่ายแบบผสม
 เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่างๆ หลายๆ แบบเข้าด้วยกัน คือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย หลายๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้างเป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกัน มากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่ายเล็ก-ใหญ่ หลากหลายแบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัด หรือ อาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้


☂ การเข้าถึงระยะไกล  คุณสมบัติเด่นอย่างหนึ่งของเครือข่ายแบบผสมก็คือ ผู้ใช้สามารถเชื่อม ต่อกับเครือข่ายจากระยะไกลเช่น อยู่ที่บ้าน หรืออยู่ภาคสนามได้
ในการ เชื่อมต่อก็จะได้คอมพิวเตอร์สั่งโมเด็มหมุนสัญญาณให้วิ่งผ่านสาย โทรศัพท์ไปเชื่อมต่อกับเครือข่ายหลังจากการเชื่อมต่อผู้ใช้สามารถเข้าไป
เรียกใช้ข้อมูลได้สมือนกับว่ากำลังใช้เครือข่ายที่บริษัท

☂ การบริหารเครือข่ายเนื่องจากเครือข่ายผสมเป็นการผสมผสานเครือข่ายหลายแบบเข้าด้วย กัน ซึ่งแต่ละเครือข่ายก็มีรายละเอียดทางเทคนิคแตกต่างกันไป
ดังนั้น การบริหารเครือข่ายก็อาจจะยากกว่าเครือข่ายแบบอื่น ๆด้วยเหตุนี้ บริษัทที่มีเครือข่ายผสมขนาดใหญ่ของตัวเองก็มักจะตั้งแผนก
ที่ทำหน้าที่ดูแลและบริหารเครือข่ายนี้โดยเฉพาะ

☂ ค่าใช้จ่ายโดยปกติเครือข่ายแบบผสมจะมีราคาแพงกว่าเครือข่ายแบบต่างๆ เพราะ เครือข่ายแบบนี้เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ และมีความซับซ้อนสูง
นอกจาก นี้ยังต้องมีการลงทุนเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยมากกว่า เครือข่ายอื่นอีกด้วย เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อระยะไกล



                อันนี้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่เราคิดว่าน่าสนใจ คือเรื่องของการ "เชื่อมโยงเครือข่าย(แบบใช้สาย)"(。Ф∀Ф。)o


เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบใช้สาย แบ่งออกตามชนิดของสายสื่อสารได้ 3 ชนิด ดังนี้


 1.)  สายตีเกลียวคู่ ประกอบด้วยเส้นทองแดง 2 เส้นที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก พันบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากสายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอก เนื่องจากสายตีเกลียวคู่นี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายตีเกลียวคู่จะขึ้นอยู่กับความหนาของสาย คือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้ส่งข้อมูลได้อัตราเร็วสูง โดยทั่วไปใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สามารถส่งได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากมีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดีจึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง สายตีเกลียวคู่มี 2 ชนิด ดีงนี้


  สายเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดไม่หุ้มฉนวน (Un-shielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ไม่มีฉนวนชั้นนอก ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าสายตีเกลียวคู่ชนิดหุุ้มฉนวน (STP) ใช้ในระบบวงจรโทรศัพท์แบบดั้งเดิม ปัจจุบันมีการปรับคุณสมบัติให้ดีขึ้น สามารถใช้กับสัญญาณความถี่สูงได้ และเนื่องจากมีราคาสูงจึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย
สายดีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดไม่หุ้มฉนวน

  สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ชั้นนอกหุ้มด้วยลวดถักที่หนา เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รองรับความถี่ของการส่งข้อมูลได้สูงกว่าสายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน แต่มีราคาแพงกว่า 


สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดหุ้มฉนวน 


  2. สายโคแอกซ์ (coaxial cable) มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อมาจากเสาอากาศประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มด้วยฉนวนพลาสติกสัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมาก นิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณเชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน สายโคแอกซ์ที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณอะนาล็อก
ลักษณะสายโคแอกซ์

     3. สายใยแก้วนำแสง (fiber optic cable) หรือเส้นใยแก้วนำแสง แกนกลางของสายประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือเส้นพลาสตกขนาดเล็กภายในกลวงหลายๆ เส้น อยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์ เส้นใยแต่ละเส้นห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้เส้นใยชั้นนอกเป้นกระจกสะท้อนแสง สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพ กราฟิก เสียง หรือวีดิทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน แต่ยังมีข้อเสียเนื่องจากการบิดงอของสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามารถใช้สื่อกลางนี้เดินทางตามมุมตึกได้ สายใยแก้ว นำแสง มีลีกษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคารหรือระหว่างเมืองกับเมือง



ขอบคุณมากๆนะค้าาา สำหรับการเข้ามาอ่าน และ การเข้ามาติดตาม  (ξ・з・)ξ 
ส่วนครั้งหน้านั้นจะมีสาระดีๆอะไรให้ติดตามนั้นก็ลองติดตามกันดูน้า 


และก็ต้องขอขอบคุณที่มาของสาระดีๆให้ด้วยนะคะ (。・ω・。) 




วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

week ⑥ ; วิเคราะห์ข้อสอบ O-Net คอมพิวเตอร์ 5 ข้อ ✎ (●▽● )

วันนี้เราจะมานำเสนอ"ตัวอย่างขอสอบ o-net 5 ข้อ" กันค่า พร้อมเฉลยและอธิบาย   (。・ω・)ノ゙ 






1.) ข้อใดเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อข้อมูลไร้สายทั้งหมด.


1.  Wi-Fi  ,  IP              2.  Wi-Fi  ,Bluetooth        3.  3G  ADSL                4.  3G    Ethernet


เฉลยข้อ 2


คำอธิบาย ;

ข้อ 1) ผิดเพราะ  IP  คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่าย ไม่ใช่การเชื่อมต่อไร้สาย
ข้อ 3) ผิด เพราะ ADSL นั้นเป็นเทคโนโลยีโมเด็มอย่างหนึ่งของ DSL ที่ใช้คู่สายทองแดง ในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูง ไม่ใช่การเชื่อมต่อไร้สาย
ข้อ 4) ผิด เพราะ ระบบการส่งแบบ Ethernet นั้นเป็นการส่งในระบบเครือข่าย LAN ไม่ใช่การเชื่อมต่อไร้สาย



2.) สื่อกลางที่ใช้มากในการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายแลนคือข้อใด


1. สายคู่บิดเกลียว        2. สายโคแอกเชียล       3. สายเส้นใยนำแสง              4. สายโทรศัพท์

เฉลยข้อ 1

คำอธิบาย;
สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว ทั้งนี้เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สายคู่บิดเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง

3.) ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนอุปกรณ์พกพา ประเภท Smartphone.


1.  Ubumtu         2.  Iphone  ios            3.  Android      4.  Symbian


เฉลยข้อ 1

คำอธิบาย
Ubumtu เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดซึ่งมีพื้นฐานบนลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน ดังนั้น Ubumtu ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนอุปกรณ์พกพาประเภท  Smartphone.



4.) ข้อใด คือ ฮาร์ดแวร์


1. เกมคอมพิวเตอร์
2. เมาส์
3. แป้นพิมพ์
4. ถูกทั้ง ข และ ค


เฉลยข้อ 4. 


คำอธิบาย;
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ โดยทั่วไปจะมีฮาร์ดแวร์หลัก ๆ ได้แก่ 
 1. ตัวเครื่อง (Case)
 2. จอภาพ (Monitor)
 3. ดิสก์ไดร์ฟ (Disk drive)
 4. คีย์บอร์ด (Keyboard)
 5. ลำโพง (Speaker) 


ดังนั้นข้อ 2 และ 3 คือ ฮาร์ดแวร์ 




5.) โปรแกรมเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือโปรแกรมใด


1.Microsoft Word
2.Internet Explorer
3.Google Chrome
4.ถูกทั้ง ข และ ค


เฉลยข้อ 4


คำอธิบาย;

ข้อ1 ผิด เพราะ โปรแกรมMicrosoft Word นั้นเป็นโปรแกรมใช้ในการพิมพ์บทความ หรือ ข้อความต่างๆ ใช้ทำรายงานเอกสารท่านั้น จึง ไม่มีการเชื่อต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ส่วนข้อ 3 และ ข้อ 4 นั้นเป็นโปรแกรมที่ใช้การเข้าใช้อินเตอร์เน็ต ดังนั้นจึงมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต